โรค Sick Building Syndrome
- Jarupron Phudithboonyin
- 17 ต.ค. 2566
- ยาว 1 นาที

โรค Sick Building Syndrome
Sick Building Syndrome (SBS) คือ ภาวะผิดปกติด้านสุขภาพทางตา จมูก ลำคอ การหายใจส่วนล่าง ผิวหนังและอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นคล้ายกัน ในกลุ่มคนทำงานในอาคารสำนักงานที่มีความเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่อยู่ในอาคารเป็นเวลานาน ปัญหาอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารหรือกับทุกส่วนของอาคาร โดยอาการป่วยดังกล่าวเป็นอาการที่ไม่มีลักษณะเฉพาะโรค มักเกิดในสำนักงาน เป็นส่วนใหญ่ แต่จะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อออกนอกอาคาร
สาเหตุ ปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นมาหลังจากได้มีการใช้อาคารแล้วซึ่งอาจเป็นเพราะการดีไซน์อาคารที่ไม่ดีมาตั้งแต่แรก คือการไม่จัดให้มีการระบายอากาศหรือมีการระบายอากาศน้อยเกินไป หรือการมีระบบดูแลรักษาอาคารที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ทำให้มีสารเคมีฟุ้งกระจายภายในอาคารในปริมาณสูง ได้แก่ ไอละเหยจากเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เลเซอร์ ก๊าซจากรถยนต์หรือจักรยานยนต์ ฝุ่น ควัน ที่เล็ดลอดเข้าไปในอาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา จากเครื่องปรับอากาศ ซึ่งเกาะติดหรือฝังตัวอยู่ตามฝ้าเพดาน ในพรม เชื้อโรคจากมด ปลวก และแมลงสาบ นอกจากนี้อาจเป็นเพราะคนในอาคารแออัดมากเกินไป มีการไอหรือจามไว้ทำให้เชื้อโรคกระจายเวียนวนอยู่ภายในตึก
อาการ ผู้อาศัยในอาคารมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคือง ตา จมูก หรือลำคอ จาม น้ำมูกไหล คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ไวต่อกลิ่นมากขึ้น หดหู่ อ่อนเพลีย ง่วงนอน สำหรับคนที่แพ้ง่ายหรือคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ อาการแพ้จะกำเริบมากขึ้น ที่พบบ่อยคือ แพ้ไรฝุ่น เชื้อรา ทำให้มีอาการไอ จามที่รุนแรงขึ้นจนถึงขั้นหอบ
มีรายงานว่า อัตราการเกิดโรค SBS สูงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นมากในผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าผู้ชายและยังมีแนวโน้มที่เกิดอาการปากแห้งคอแห้งหรือผื่นแพ้บนผิวหนังมากกว่าผู้ชายอีกด้วย สาวๆ ส่วนใหญ่มักทำงานอยู่ในออฟฟิศ ทำให้มีโอกาสจะเจอกับมลพิษในอาคารได้บ่อยกว่า เนื่องจากผู้ชายโดยส่วนใหญ่แล้วจะทำงานนอกสถานที่มากกว่านั่นเอง
วิธีการป้องกันมีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
ควบคุมแหล่งที่มาของมลพิษ (Source Control) วัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านหลายอย่าง ก่อให้เกิดการปลดปล่อยสารพิษออกมาในอากาศ สิ่งต่างๆ ที่เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดภาวะ Sick Building Syndrome มีดังนี้ ฉนวนกันความร้อนที่มี Asbestos, การหมุนเวียนอากาศถ่ายที่ไม่ดี, ควันบุหรี่ , กลิ่นระเหยจากสีทาบ้าน, ไรฝุ่น, พรมมีสารระเหยฟอร์มาดีไฮด์จากสีย้อม, ขนสัตว์, น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นสารพิษ, สารระเหยจากสีย้อมผ้า, คาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจ, วัสดุก่อสารที่มีสารระเหย, แบคทีเรียจากโถส้วม ไอระเหยจากเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นต้น
ทำให้อากาศภายในอาคารมีการหมุนเวียนถ่ายเท คือการนำอากาศเก่าออกทิ้งไป และนำอากาศใหม่ เข้าไปแทนที่ด้วยวิธีเปิดหน้าต่างหรือติดตั้งระบบหมุนเวียนอากาศ เพื่อให้อากาศผ่านเข้า-ออกได้ บ้านที่ก่อสร้างหรือตกแต่งเสร็จใหม่ๆ แนะนำให้เปิดหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้สารระเหยที่สะสมอยู่จากวัสดุก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ออกไปได้โดยง่าย
ทำความสะอาดเป็นประจำ (House Cleaning) หน้ากากแอร์ส่วนที่ถอดออกมาล้างเองได้ แนะนำให้ถอดออกมาล้างทุกเดือน พรม เฟอร์นิเจอร์ ผ้าบุควรทำความสะอาดใหญ่ปีละครั้ง ใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดฝุ่นผงภายในบ้าน หรือติดตั้งเครื่องฟอกอากาศที่ช่วยกำจัดทั้ง ฝุ่นกลิ่น และ เชื้อโรค
สำหรับอาคารขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงแรม จะมีระบบระบายอากาศแบบเติมอากาศสะอาด ที่เรียกว่า Fresh Air Machine นำอากาศสะอาดเข้าไปในอาคาร
สำหรับบ้านเรือนและอาคารขนาดเล็ก ปัจจุบันมีระบบฟอกอากาศสำหรับเพิ่มออกซิเจน เป็นระบบฟอกอกาสจากภายนอกเพื่อนำอากาศสะอาดเข้าไปในอาคารเช่นเดียวกับระบบของอาคารใหญ่ เป็นตัวเลือกสำหรับบ้านที่ต้องการความสะอาดเป็นพิเศษ และอาคารสำนักงานที่มีปัญหา Sick Building Syndrome
เนื่องจากเครื่องปรับอากาศและเครื่องฟอกอากาศแบบติดตั้งภายในห้อง ไม่สามารถสร้างออกซิเจนได้ แต่ร่างกายของคนและสัตว์ต้องการออกซิเจนทุกลมหายใจ การระบายอากาศจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ดังนั้น กฏหมายจึงได้กำหนดอัตราการระบายอากาศไว้ คือ พรบ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แต่คนโดยทั่วไปไม่ความรู้จึงป่วยเป็น Sick Building Syndrome กันมาก
ด้วยความปรารถดีจาก บริษัท จี-อีโวลูชั่น จำกัด ผู้เชี่ยวชาญห้องปลอดเชื้อ คุณภาพาอากาศภายในอาคาร และบ้านปลอดฝุ่นที่มีอากาศปลอดโปร่งโล่งสบาย
Comments